การเลือกใช้ซิป


 ซิป หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า zipper หรือ zip fastener ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็รู้จักและเคยใช้อุปกรณ์ชนิดนี้กันทั้งนั้น จนอาจไม่เคยรู้สึกเลยว่ามันเป็นนวัตกรรมน่าทึ่งชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อคนเราเป็นอย่างมาก ที่มาที่ไปของสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้ เริ่มตั้งแต่กว่า 100 ปี ที่แล้ว ในปี คศ 1851 Elias Howe  วิศวกรชาวอเมริกัน ผู้มีความสนใจในเรื่องการประดิษฐ์จักรเย็บผ้า ได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์คล้ายซิปเพื่อใช้ยึดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ได้ทำการตลาดเพื่อขายสิ่งประดิษฐ์นี้อย่างจริงจัง  หลังจากนั้นอีกราวๆ 40 ปี วิศวกรชาวอเมริกัน Whitcomb L. Judson ได้ออกแบบซิปแบบแบบเกี่ยวห่วงใช้กับรองเท้าแทนการใช้กระดุฒ เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ซิป แต่ซิปที่มีลักษณะการทำงานแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แบบไร้ตะขอ (hookless) นั้น เกิดจากการออกแบบในอีก 20 ปี ต่อมา โดยวิศวกรชาวสวีเดน Gideon Sundback


ซิปมีหลายแบบหลายชนิด บางชนิดออกแบบเป็นพิเศษ เช่น ซิปที่ใช้กับชุดนักบินอวกาศ แต่สำหรับการใช้ในงานทั่วๆ ไป อย่างที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ งานฝีมือ ก็มีหลายชนิด เช่นกัน  ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน จะได้ใช้ได้นานๆ ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย และจะเลือกใช้ซิปอย่างไร แบบไหน ให้พิจารณาดังนี้ค่ะ

  • ขนาดของฟันซิป ในท้องตลาดทั่วไป ขนาดของฟันซิปที่หาได้ง่ายคือ  เบอร์ 3 เบอร์ 5 ค่ะ เบอร์ 3 ก็ประมาณซิปไนล่อนที่ใช้ติดกระโปรง กางเกง เสื้อผ้า  ส่วนเบอร์ 5 ฟันซิปจะมีขนาดใหญ่กว่า เบอร์ 3 ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรง เช่น เต้นท์ ผ้าหุ้มเบาะ เป็นต้น
  • วัสดุที่ใช้ทำฟันซิป มีทั้งที่เป็นไนล่อน พลาสติก เหล็ก และทองเหลือง เสื้อผ้าทั่วไปนิยมใช้ซิปฟันไนล่อน  กางเกงยีนส์หรือกางเกงที่ต้องใช้งานสมบุกสมบันจะติดซิปฟันทองเหลืองหรือฟันเหล็ก ส่วนฟันพลาสติก อย่างที่เรียกว่าซิปฟันกระดูก นิยมใช้ในงานกระเป๋า เพราะฟันซิปสวยงาม โชว์ได้ และมีฟันซิปอีกแบบที่เคยเป็นที่นิยม เรียกว่าฟันนิกเกิล ใช้ตกแต่งเสื้อผ้า ทำงานฝีมือ ขนาดฟันซิปค่อนข้างใหญ่ เพราะใช้โชว์ฟัน มีสีโลหะแววาว เช่น สีเงิน สีทอง หรือสีรุ้ง  

การสร้างเกล็ดกระโปรงมาตรฐาน

การวาดเกล็ดกระโปรงลงบนกระดาษสร้างแบบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแบบกระโปรงมาตรฐานแล้วค่ะ  การทำเกล็ดกระโปรง เพื่อทำให้กระโปรงมีส่วนโค้งจากเอวที่คอด ลงไปหาส่วนสะโพกที่ผายออก ตำแหน่งเกล็ดกระโปรงจึงเป็นตำแหน่งเย็บเก็บผ้าส่วนที่ใกล้ขอบเอวเข้าหากัน  แม้แต่กระโปรงพลีทรอบตัว ก็ควรสร้างเกล็ดกระโปรงไว้บนแบบ เช่นกัน

จากตอนที่แล้ว ที่เราได้ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้าให้มากกว่าชิ้นหลัง ข้างละ 2 ซม.  เมื่อจะทำเกล็ดกระโปรง เริ่มที่แบบชิ้นหลังก่อนก็ได้ค่ะ

การวาดเกล็ดกระโปรงชิ้นหลัง
แบ่งระยะของขอบเอวชิ้นหลัง จากสันทบถึงโค้งเอวชิ้นหลัง เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ลากเส้นตรงลงมาจากตำแหน่งที่แบ่ง ถึงเส้นสะโพกบน ให้เส้นนี้นี้คือเส้นกึ่งกลางของเกล็ดแต่ละอัน   ซึ่งเกล็ดแต่ละอันจะกว้างเท่าไรขึ้นกับความยาวของเอวของผู้สวมใส่ คำนวณจาก

ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน     =     ระยะ PQ   -   [(รอบเอวจริง / 4) - 2] 

ได้ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน มาแล้ว  กำหนดให้เกล็ดแรกทางซ้ายมือ กว้าง 3 ซม.  เหลือเท่าไหร่ ให้เป็นความกว้างของเกล็ดที่ 2

 

 และให้ความยาวเกล็ดแรกประมาณ 14-16 ซม. ส่วนเกล็ดที่ 2 ยาวประมาณ 12 ซม.


ปรับแบบกระโปรงพื้นฐาน: ความกว้างชิ้นหน้าและชิ้นหลัง

สร้างพื้นฐานกระโปรงกันแล้วก็ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้า-ชิ้นหลัง กันต่อค่ะ

กระโปรงพื้นฐานควรปรับให้ด้านหน้ามีความกว้างมากกว่าด้านหลัง เพื่อให้เมื่อมองกระโปรงที่อยู่บนตัวผู้สวมใส่แล้ว จะได้ไม่เห็นมองไม่เห็นตะเข็บข้างตัวกระโปรงชัดเกินไป การปรับทำได้โดยนำแบบกระโปรงพื้นฐานที่สร้างไว้ในตอนที่แล้ว มาลดความกว้างของกระโปรงชิ้นหลังลงไป 2 ซม. จะทำให้กระโปรงชิ้นหน้ากว้างขึ้นข้างละ 2 ซม. และชิ้นหลังแคบลงข้างละ 2 ซม.ตามเส้นสีแดงในภาพ



แล้วก็ลบเส้นความกว้างตามแนวเดิมออก จะได้แบบกระโปรงพื้นฐานที่ด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังข้างละ 2 ซม. ค่ะ

การสร้างแบบกระโปรงมาตรฐาน (1)

 

เมื่อวัดตัวนางแบบ สำหรับการตัดประโปรงไว้แล้ว ก็เริ่มลงมือทำแบบพื้นฐานของกระโปรง ลงบนกระดาษสร้างแบบกันได้เลยค่ะ  แบบพื้นฐานของกระโปรงนี้จะเป็นเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอน ที่ความยาวของแต่ละเส้นได้มาจากการวัดรอบตัวนางแบบ


เริ่มจากเส้นตรงแนวนอนด้านล่างสุด เพื่อกำหนดความกว้างของแบบ
ความกว้างของแบบ  (เส้น AB)  = รอบสะโพกล่าง / 2
ความยาวของเส้นตั้งซ้าย (AC)  = ความยาวกระโปรงด้านหลัง
ความยาวของเส้นตั้งขวา  (AD) = ความยาวกระโปรงด้านหน้า


การวัดตัวเพื่อสร้างกระโปรง

การตัดเย็บกระโปรง เป็นขั้นแรกของการฝึกงานตัดเย็บเสื้อผ้า เพราะการวัดตัว และสร้างแบบไม่ซับซ้อนเกินไป   ส่วนการตัดผ้าก็สามารถคำนวณพื้นที่ของผ้าที่จะใช้ได้ง่าย การเย็บด้วยจักรก็ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมาก จะมีขั้นตอนที่ต้องระมัดระวังหน่อย คือ การเย็บเข้ากับกระโปรงซับใน ติดซิป และเข้าขอบเอว เท่านั้น

เริ่มต้น ด้วยการวัดตัว เพื่อนำขนาดตัวของผู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้าไปสร้างเป็นแบบ (pattern) โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือสายวัด เป็นแถบพลาสติกสีขาวมีสเกลบอกความยาวเป็นนิ้วและเซนติเมตร และสมุดวัดตัว เพราะมีช่องหรือบรรทัดให้ใส่สัดส่วนร่างกายของแบบ อยู่แล้ว  อุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป

การติดซิปธรรมดาแบบง่ายๆ


การติดซิปธรรมดานั้นไม่ยากค่ะ แม้ว่ามือใหม่หลายคนจะค่อนข้างกังวล กลัวติดซิปลงไปแล้วไม่สวยแล้วต้องรื้อตะเข็บมาเย็บใหม่  ลองดูวิธีง่ายๆ กันค่ะ

ถ้าแบ่งประเภทของซิปตามการมองเห็นฟันซิป ก็อาจแบ่งเป็นซิปธรรมดาที่มีฟันทำจากโลหะหรือพลาสติก เมื่อติดลงบนผ้าแล้วรูดหัวซิปขึ้น-ลง จะมองเห็นฟันซิปเรียงเป็นแถว ส่วนซิปที่มองไม่เห็นฟัน เรียกว่าซิปซ่อน ใช้กับเสื้อผ้าสตรีเป็นหลัก เพราะมองไม่เห็นฟันซิป เมื่อรูดไปมาด้วยลักษณะของซิปที่ออกแบบมาให้ฟันซิปหลบอยู่หลังแนวผ้าที่ประกบกัน  แต่ในโพสต์นี้ เราจะแสดงการติดซิปธรรมดาอย่างง่ายนะคะ

สำหรับผู้ที่เพิ่งหัดเย็บผ้าเป็นงานอดิเรกเล็กๆ น้อย เช่น กระเป๋า ถุงผ้า ผ้ากันเปื้อน งานบางอย่างจำเป็นต้องติดซิป หากยังไม่ชำนาญมาก ลองดูวิธีการติดซิปต่อไปนี้กันค่ะ เป็นวิธีการแบบง่าย แต่อาจไม่เหมาะกับการนำไปติดเป็นซิปกระโปรง เพราะว่าแนวเย็บทับบนผ้า เป็นแนวตะเข็บที่ 2 ข้างกว้างเท่ากัน ทำให้งานดูไม่เนี๊ยบเหมือนการติดซิปกระโปรงด้วยซิปธรรมดาที่โชว์ตะเข็บกว้างแนวเดียวบนผ้าด้านหนึ่ง ส่วนผ้าอีกด้านหนึ่ง จะเย็บตะเข็บแบบชิดแนวขอบฟับเพื่อซ่อนตะเข็บให้มากที่สุด  ซึ่งเมื่อมีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้ว ก็จะเย็บซิปแบบนั้นได้เอง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือ ผ้าที่ต้องการติดซิป ซิปธรรมดา ขนาดความยาวตามต้องการ (ใช้ซิปไนล่อน เบอร์ 3 ชนิดหัวล็อกอัตโนมัตฺิ ราคาไม่แพงค่ะ) จักรเย็บผ้า ด้ายสปัน ที่เลาะด้าย และเข็มหมุด

ตีนผีแซกริมผ้า


 เพิ่งได้ตีนผีแซคริมผ้ามาค่ะ  ก่อนหน้านี้ที่ผู้เขียนสนุกสนานกับการตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองเป็นเรื่องเป็นราวนั้น เคยลงทุนซื้อจักรโพ้งของจีน มาใช้เวลาซิกแซกริมผ้ากันลุ่ยที่ตะเข็บด้านใน ทำให้ริมผ้าด้ายในส่วนเหลือจากตะเข็บเรียบร้อยสวยงาม เพราะจักรโพ้งนั้นจะมีใบมีดตัดริมส่วนที่เกินจากตะเข็บซิกแซกออกให้ด้วย แม้การใส่ด้ายของจักรโพ้งจะยุ่งยากเอาการสำหรับมือสมัครเล่น เพราะต้องใช้ด้ายถึง 3 หลอด ที่แตกต่างกัน คือไหมแซก ด้ายแซกและด้ายฟู ตามมาตรฐานตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วไป ทุกคัร้งที่มาใส่ด้ายด็ต้องเปิดคู่มือการร้อยด้ายทุกครั้ง

จนวันหนึ่งหยุดตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองชั่วคราวเพราะมีภาระกิจอื่นสำคัญกว่าให้ต้องไปทำ ปล่อยทั้งจักรเย็บผ้าและจักรโพ้งให้ยืนเหงามาหลายปี มาดูอีกทีจักรโพ้งก็ไปเสียแล้ว ทั้งฝุ่นทั้งสนิมจับเขรอะ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งซ่อมแล้วก็ไม่โอเคเหมือนเดิม ต้องตัดใจเลิกใช้ หันมาแซกริมผ้าด้วยจักรเย็บผ้าที่มีฟังก์ชั่นเย็บซิกแซกแทน  ใช้ตีนผีซิกแซกที่มากับจักรนั่นล่ะค่ะ แต่เย็บแล้วไม่สวยเอาเสียเลย ได้แนวเย็บเบี้ยวๆ บูดๆ แถมบางแนวม้วนริมผ้าเสียย่นเลย  ทนใช้ไปเพราะคิดว่าช่างเถอะ มันอยู่ด้านใน ไม่มีใครเห็น

สาระพันปัญหาขณะเย็บจักร


เมื่อใช้จักรเย็บผ้าไปนานๆ จะพบปัญหาสารพันที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ก็เย็บได้ตามปกติแท้ๆ เมื่อมีปัญหาเกียวกับการเย็บผ้า ลองวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขเบื้องต้นกันก่อนดีไหมคะ หากลองแก้ไขด้วยตัวเองแล้วยังเป็นเหมือนเดิม ก็คงต้องให้มืออาชีพช่วยแก้ไขให้ค่ะ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ เมื่อใช้งานจักรเย็บผ้า มีดังนี้

เข็มหักหรือบิดงอ
 สาเหตุหลักๆ เลยนั้น น่าจะเป็นการใช้เข็มผิดขนาด ไม่เหมาะกับชนิดของผ้าที่ใช้เย็บ เช่น ใช้เข็มเบอร์ 11 ซึ่งมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้เย็บผ้าบางๆ เช่น ผ้าชีฟอง มาเย็บผ้ายีนส์ หรือผ้าใบ  ถ้าขนาดเข็มที่ใช้เหมาะกับชนิดของผ้าดีแล้ว ให้ลองเช็คว่าใส่เข็มถูกตำแหน่งหรือไม่ โดยดูจากตำแหน่งหัวเข็มจะต้องใส่ให้ลงล็อกกับแกนใส่เข็มของจักรเย็บผ้าให้พอดี  ขณะเย็บต้องไม่ดึงผ้าให้ตึงจนเกินไป  สาเหตุจากตีนผี ก็มีความเป็นไปได้ว่า

เย็บรังดุมด้วยจักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้าที่เย็บซิกแซกได้ ถ้ามีฟังก์ชั่นเย็บรังดุมด้วย จะทำให้เย็บรังดุมได้เรียบร้อยสวยงาม เพียงแต่หมุนปุ่มควบคุมการเย็บซิกแซกของเข็มไปตามลำดับ จักรเย็บผ้าที่ผู้เขียนใช้มีฟังก์ชั่นนี้ ซึ่งมีอยู่ 4 จังหวะ

จักรเย็บผ้าแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นที่มีฟังก์ชั่นเย็บรังดุมได้ อาจมีปุ่มควบคุมการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ใช้ต้องไปศึกษารายละเอียดในคู่มือของแต่ละเครื่องด้วยค่ะ

 หน้าตาของปุ่มควบคุมการเย็บรังดุมของเจักรเย็บผ้ารุ่นที่ผู้เขียนใช้อยู่ เป็นแบบหมุนแก็ก อยู่ในชุดเดียวกับการปรับความห่างของฝีเข็ม เมื่อต้องการใช้งานก็หมุนมาให้ตรงกับตำแหน่งลูกศรด้านบนค่ะ
 

เข็มจักรเย็บผ้า

เข็มที่ใช้กับจักรเย็บผ้า ที่มีขายในร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บมีหลายยี่ห้อค่ะ โดยทั่วไปราคาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นชนิดที่เรียกว่าเข็มจักรทอง ซึ่งมีหัวเข็มเป็นสีทอง เป็นเข็มที่มีปลายแหลมพิเศษ และมีความแข็งแรงมากกว่าเข็มจักรทั่วไป เวลาใช้งานจึงทนทาน หักยาก ช่างมืออาชีพชอบใช้เข็มจักรทองแม้จะราคาแพงกว่าเข็มจักรธรรมดาประมาณ 5 เท่า ที่สำคัญคือเย็บผ้ายืดได้

เข็มจักรมีรูปร่างมาตรฐานค่ะ สำหรับจักรเย็บผ้าที่มียี่ห้อโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น Singer  brother Janome หรือ Elna ก็ใช้เข็มจักรแบบเดียวกัน เพราะมีช่องใส่เข็มที่ตัวจักรเป็นมาตรฐานเช่นกัน ถ้าสังเกตุที่ส่วนหัวจะเห็นว่าหน้าตัดไม่เป็นวงกลมทั้งหมด แต่มีส่วนตัดแบนอยู่เกือบเป็นครึ่งวงกลม เพื่อให้ล็อกกับแกนยึดเข็มในจักรเย็บผ้า และหันปลายรูเข็มมาด้านหน้าได้พอดี ส่วนหัวเข็มที่แบนนี้มีตัวหนังสือเล็กๆ สลักอยู่เป็นตัวเลขระบุขนาดของเข็มค่ะ

ที่สนเข็ม

ที่สนเข็มเป็นอุปกรณ์ตัดเย็บสำคัญสำหรับผู้สูงวัย เมื่ออายุมากขึ้น เกิดภาวะสายตายาว สายตาจะโฟกัสวัตถุระยะใกล้ได้ไม่ชัด เวลาจะสนเข็ม จะใส่ด้ายเข้ารูเข็มผิดๆ ถูกๆ หรือบางครั้งใส่ด้ายได้แล้วนิดหน่อยแต่ดึงด้ายออกมาไม่ได้ก็มี เป็นปัญหาที่น่ารำคาญสำหรับคนรักงานตัดเย็บมากค่ะ การมีที่สนเข็มปักติดอยู่กับหมอนปักเข็ม และหยิบมาใช้ได้ทันที จะทำให้การสนเข็มง่ายดายขึ้นในพริบตา ที่สนเข็มธรรมดา หน้าตามตามภาพ ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นเข็มสอยผ้าเบอร์เล็กสุดคือ เบอร์ 11 ก็ยังใช้ด้วยกันได้ และที่สำคัญราคาถูกมากค่ะ หายไปก็ไม่เสียดายเงินเท่าไหร่

เวลาจะใช้งาน ตัดด้ายจากหลอดด้ายคามความยาวที่จะใช้ หยิบเข็มสอยที่จะใช้ขึ้นมา แทงปลายลวดรูปขนมเปียกปูนของที่สนเข็มเข้ารูเข็ม ลวดนี้แม้จะดูบอบบางแต้ก็มีความแข็ง จึงทำให้ลอดผ่านรูเข็มได้ง่าย แทงปลายลวดจนสุด  คล้องด้ายเข้าในลวดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทิ้งปลายด้ายด้านหนึ่งราวๆ  2-3 นิ้ว ก็ได้ค่ะ รวบด้าย 2 ชายไว้ด้วยกัน แล้วดึงลวดกลับทางเดิม จะทำให้ด้ายลอดผ่านรูเข็มไปด้วย

รีวิวจักรมินิ

แรกเห็นภาพจักรเย็บผ้าขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าจักรมินิในโบรชัวรโฆษณา แล้วก็อยากรู้อยากเห็นว่าเวลาใช้งานจริงจะเป็นอย่างไร ดูจากที่ฝรั่งรีวิวไว้ใน youtube เห็นว่าใช้งานเหมือนจักรไฟฟ้าทั่วไป ก็เลยตัดสินใจหามาทดลองเล่นตัวนึง หน้าตาตามภาพเลยค่ะ เป็นจักรเย็บผ้า mini จริงๆ วางบน keyboard ของ netbook computer สบายๆ เลยค่ะ

จักรนี้ผลิตในประเทศจีน เป็นจักรไฟฟ้าเสียด้วย มีสายไฟเสียบปลั๊กไฟบ้าน แต่จะเลือกใช้เป็นถ่านไฟฉายขนาด AA 4 ก้อนก็ได้ โดยใส่ถ่านไฟฉายที่ด้านล่างของจักร มี foot control มาให้ด้วยค่ะ  ตีนผีที่ติดมากับตัวจักรเป็นแบบเย็บตรงอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นแบบอื่นไม่ได้

เรียนตัดเสื้อด้วยตัวเองได้ไหม?

ถ้าเราจะเรียนตัดเย็บเสื้อด้วยตัวเองโดยใช้ หนังสือหรือ google หรือ youtube เป็นครู จะได้ไหม? ถ้าให้ตอบ ก็คงบอกว่า "พอไหวค่ะ แต่ยากที่จะทำให้ได้ดีโดยเร็ววัน"
เพราะการตัดเย็บเสื้อผ้าแตกต่างจากการตัดเย็บกระเป๋าสตางค์ หรือการควิลท์ผ้าห่ม ซึ่งถ้าพอจะเย็บจักรเป็นและมีแพทเทิร์นแล้ว ก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก

การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นแตกต่างตั้งแต่ไม่มีแพทเทิร์นสำเร็จรูปที่พอดีเป๊ะสำหรับรูปร่างของทุกคน จึงต้องสร้างแพทเทิร์นขึ้นมาทุกครั้งเมื่อจะตัดเสื้อแบบใหม่ ยังมีชิ้นส่วนของเสื้อผ้าหลายส่วนที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการตัดและเย็บก่อนนำมาประกอบเป็นชุด  การพยายามที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงอาจใช้เวลานานกว่าการใช้เวลาไปเรียนสักสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง เพราะไม่ต้องลองผิดลองถูกอยู่ค่ะ เพราะเมื่อจะตัดเย็บเสื้อผ้าสักชุดหนึ่ง มีขั้นตอนที่ต้องเรียนรู้หลายขั้นตอน ได้แก่

การใช้ตีนผีม้วนริมพับชายผ้า


การเย็บเสื้อผ้าเนื้อบาง เช่นกระโปรงชายย้วยที่ตัดจากผ้าเป็นทรงครึ่งวงกลมนั้น เวลาเก็บพับริมชายผ้าจะเป็นปัญหามาก เพราะชายของกระโปรงเป็นผ้าแนวโค้ง เมื่อพับชายและสอยไปเรื่อยๆ ชายพับจะเริ่มพับยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเส้นรอบวงที่ปลายชายกระโปรงยาวกว่าตำแน่งที่จะพับเย็บ บางคนอาจแก้ปัญหาโดยการเย็บจักรฝีเข็มห่างๆ ที่ปลายชายกระโปรงและดึงรูดเพื่อให้ความยาวชายผ้ากับความยาวตรงตำแหน่งพับมีระยะเท่ากัน ก่อบพับริมและเย็บซ้ำ แต่การใช้ตีนผีม้วนริมพับชายผ้าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า เพราะเย็บง่าย ได้ขอบพับความกว้างไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ชายพับกระโปรงไม่ย่นและเป็นวงสวย  นอกจากใช้กับกระโปรงทรงย้วยแล้ว ตีนผีม้วนริมผ้า ยังใช้กับงานเย็บตรงที่ต้องการพับริมให้มีขนาดเล็กอีกด้วย

กระโปรงชายผ้าเช็ดหน้า


เรียกกระโปรงทรงนี้ว่ากระโปรงชายผ้าเช็ดหน้า ตามชื่อภาษาอังกฤษ handkerchief hem skirt เป็นกระโปรงทรงย้วยที่ตัดจากผ้าหน้ากว้างชิ้นเดียว นำมาพับทบ ตัดเว้าส่วนเอวออก ใส่ขอบเอวเข้าไป ก็ได้กระโปรงทรงสวยชายย้วยเป็นมุม เป็นกระโปรงสไตล์โบฮีเมียน ทำให้ผู้สวมใส่ดูเป็นอิสระ สดใส ร่าเริง แพทเทิร์นนี้เป็นแบบขอบเอวจีบรูดด้วยไส้ไก่ จึงไม่ต้องใส่ซิป ถ้ามีผ้าที่มีชายเป็นลูกไม้หรือปักริมชายผ้าทุกด้าน จะทำให้ตัดเย็บง่ายขึ้นไปอีกเพราะไม่ต้องเก็บพับริมชายกระโปรง และผ้าน้ำหนักเบาจะพลิ้วสวยกว่าผ้าหนา

กรรไกรก้ามปู


กรรไกรก้ามปู สำหรับช่างเย็บผ้า มีหน้าที่หลัก คือใช้ตัดด้ายค่ะ แม้ว่ากรรไกรก้ามปูจะไม่มีความจำเป็นต่องานตัดเย็บเท่ากับกรรไกรตัดผ้า แต่นับเป็นเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการช่วยงานเย็บผ้ามาก ไม่ว่าจะเย็บจักรหรือเย็บมือ เพราะทุกครั้งที่เดินจักรหรือเย็บมือเสร็จแต่ละแนว ก็จำเป็นต้องตัดด้ายเพื่อเปลี่ยนแนวเย็บ การใช้กรรไกรตัดผ้าหรือกรรไกรธรรมดาทั่วไปจะทำให้เสียเวลาพอสมควร เพราะต้องจับกรรไกรขึ้นมาและใช้นิ้วสอดเข้าที่ด้ามจับกรรไกรจึงจะตัดได้ แต่ถ้าใช้กรรไกรก้ามปู เราก็เพียงแต่ใช้มือรวบจับตัวกรรไกรและออกแรงเล็กน้อยงับตัดด้ายได้อย่างรวดเร็ว


เย็บรังดุมด้วยมือ


การเย็บรังดุมสำหรับผู้ที่ไม่มีจักรเย็บผ้า หรือมีจักรเย็บผ้าแต่ไม่มีฟังก์ชั่นเย็บซิกแซก สามารถใช้การเย็บด้วยมือได้ค่ะ โดยใช้การปักผ้าพื้นฐานแบบคัทเวิร์ค (cutwork embroidery)

กรรไกรตัดผ้า



กรรไกรตัดผ้าต้องใช้แยกจากกรรไกรตัดกระดาษอย่างเด็ดขาด ช่างตัดเย็บมืออาชีพจะเลือกซื้อกรรไกรที่มีคุณภาพดีที่ผลิตเพื่อการตัดผ้าโดยเฉพาะ และเก็บรักษากรรไกรตัดผ้านี้อย่าดีไม่ใช้ตัดวัสดุอื่นใดแม้แต่กระดาษหรือพลาสติกบางๆ เพราะจะทำให้ศูนย์กรรไกรเสียและไม่คมอีกต่อไป รวมถึงต้องระวังการตกกระแทกพื้นหรือพื้นโต๊ะด้วย

กรรไกรตัดผ้าราคาค่อนข้างสูง บางยี่ห้อราคาหลายร้อยบาทถึงหลักพัน  การเลือกซื้อกรรไกรตัดผ้าจึงมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

จักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้ามีหลายชนิดค่ะ แต่เราจะแนะนำจักรเย็บผ้าพื้นฐานสำหรับใช้งานในบ้านเป็นหลัก เพราะนี่เป็นบล็อก sew it myself ใครที่ยังไม่เคยใช้จักรเย็บผ้าเลยจะได้รู้จักชิ้นส่วนและหลักการทำงานของจักรเย็บผ้าไว้เป็นพื้นฐานก่อนค่ะ

จักรเย็บผ้าแต่ละยี่ห้อ/รุ่น มีรายละเอียดต่างกัน จักรเย็บผ้ารุ่นคุณแม่คุณยายใช้นั้นเป็นจักรถีบ คือใช้เท้าวางบนแผงถีบด้านล่างและถีบให้สายพานจักรไปหมุนให้เข็มจักรเดิน ตัวจักรเย็บผ้ามีรูปทรงโค้งอ่อนช้อยและมีสีดำ จึงเรียกจักรรุ่นเก่านี้ว่าจักรหัวดำ ส่วนจักรสมัยใหม่เป็นแบบมีมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้เท้าเหยียบแป้นที่พื้น ให้มอเตอร์ไฟฟ้าขับให้เข็มจักรเดิน

จักรไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือนมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น แต่โดยทั่วไปมีหลักการทำงานเหมือนกัน และมีชิ้นส่วนหลักในการทำงานใกล้เคียงกัน มารู้จักส่วนประกอบสำคัญของจักรเย็บผ้าตามรูปค่ะ