การสร้างเกล็ดกระโปรงมาตรฐาน

การวาดเกล็ดกระโปรงลงบนกระดาษสร้างแบบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแบบกระโปรงมาตรฐานแล้วค่ะ  การทำเกล็ดกระโปรง เพื่อทำให้กระโปรงมีส่วนโค้งจากเอวที่คอด ลงไปหาส่วนสะโพกที่ผายออก ตำแหน่งเกล็ดกระโปรงจึงเป็นตำแหน่งเย็บเก็บผ้าส่วนที่ใกล้ขอบเอวเข้าหากัน  แม้แต่กระโปรงพลีทรอบตัว ก็ควรสร้างเกล็ดกระโปรงไว้บนแบบ เช่นกัน

จากตอนที่แล้ว ที่เราได้ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้าให้มากกว่าชิ้นหลัง ข้างละ 2 ซม.  เมื่อจะทำเกล็ดกระโปรง เริ่มที่แบบชิ้นหลังก่อนก็ได้ค่ะ

การวาดเกล็ดกระโปรงชิ้นหลัง
แบ่งระยะของขอบเอวชิ้นหลัง จากสันทบถึงโค้งเอวชิ้นหลัง เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ลากเส้นตรงลงมาจากตำแหน่งที่แบ่ง ถึงเส้นสะโพกบน ให้เส้นนี้นี้คือเส้นกึ่งกลางของเกล็ดแต่ละอัน   ซึ่งเกล็ดแต่ละอันจะกว้างเท่าไรขึ้นกับความยาวของเอวของผู้สวมใส่ คำนวณจาก

ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน     =     ระยะ PQ   -   [(รอบเอวจริง / 4) - 2] 

ได้ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน มาแล้ว  กำหนดให้เกล็ดแรกทางซ้ายมือ กว้าง 3 ซม.  เหลือเท่าไหร่ ให้เป็นความกว้างของเกล็ดที่ 2

 

 และให้ความยาวเกล็ดแรกประมาณ 14-16 ซม. ส่วนเกล็ดที่ 2 ยาวประมาณ 12 ซม.


ปรับแบบกระโปรงพื้นฐาน: ความกว้างชิ้นหน้าและชิ้นหลัง

สร้างพื้นฐานกระโปรงกันแล้วก็ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้า-ชิ้นหลัง กันต่อค่ะ

กระโปรงพื้นฐานควรปรับให้ด้านหน้ามีความกว้างมากกว่าด้านหลัง เพื่อให้เมื่อมองกระโปรงที่อยู่บนตัวผู้สวมใส่แล้ว จะได้ไม่เห็นมองไม่เห็นตะเข็บข้างตัวกระโปรงชัดเกินไป การปรับทำได้โดยนำแบบกระโปรงพื้นฐานที่สร้างไว้ในตอนที่แล้ว มาลดความกว้างของกระโปรงชิ้นหลังลงไป 2 ซม. จะทำให้กระโปรงชิ้นหน้ากว้างขึ้นข้างละ 2 ซม. และชิ้นหลังแคบลงข้างละ 2 ซม.ตามเส้นสีแดงในภาพ



แล้วก็ลบเส้นความกว้างตามแนวเดิมออก จะได้แบบกระโปรงพื้นฐานที่ด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังข้างละ 2 ซม. ค่ะ