เรียนตัดเสื้อด้วยตัวเองได้ไหม?

ถ้าเราจะเรียนตัดเย็บเสื้อด้วยตัวเองโดยใช้ หนังสือหรือ google หรือ youtube เป็นครู จะได้ไหม? ถ้าให้ตอบ ก็คงบอกว่า "พอไหวค่ะ แต่ยากที่จะทำให้ได้ดีโดยเร็ววัน"
เพราะการตัดเย็บเสื้อผ้าแตกต่างจากการตัดเย็บกระเป๋าสตางค์ หรือการควิลท์ผ้าห่ม ซึ่งถ้าพอจะเย็บจักรเป็นและมีแพทเทิร์นแล้ว ก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก

การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นแตกต่างตั้งแต่ไม่มีแพทเทิร์นสำเร็จรูปที่พอดีเป๊ะสำหรับรูปร่างของทุกคน จึงต้องสร้างแพทเทิร์นขึ้นมาทุกครั้งเมื่อจะตัดเสื้อแบบใหม่ ยังมีชิ้นส่วนของเสื้อผ้าหลายส่วนที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการตัดและเย็บก่อนนำมาประกอบเป็นชุด  การพยายามที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงอาจใช้เวลานานกว่าการใช้เวลาไปเรียนสักสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง เพราะไม่ต้องลองผิดลองถูกอยู่ค่ะ เพราะเมื่อจะตัดเย็บเสื้อผ้าสักชุดหนึ่ง มีขั้นตอนที่ต้องเรียนรู้หลายขั้นตอน ได้แก่

การใช้ตีนผีม้วนริมพับชายผ้า


การเย็บเสื้อผ้าเนื้อบาง เช่นกระโปรงชายย้วยที่ตัดจากผ้าเป็นทรงครึ่งวงกลมนั้น เวลาเก็บพับริมชายผ้าจะเป็นปัญหามาก เพราะชายของกระโปรงเป็นผ้าแนวโค้ง เมื่อพับชายและสอยไปเรื่อยๆ ชายพับจะเริ่มพับยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเส้นรอบวงที่ปลายชายกระโปรงยาวกว่าตำแน่งที่จะพับเย็บ บางคนอาจแก้ปัญหาโดยการเย็บจักรฝีเข็มห่างๆ ที่ปลายชายกระโปรงและดึงรูดเพื่อให้ความยาวชายผ้ากับความยาวตรงตำแหน่งพับมีระยะเท่ากัน ก่อบพับริมและเย็บซ้ำ แต่การใช้ตีนผีม้วนริมพับชายผ้าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า เพราะเย็บง่าย ได้ขอบพับความกว้างไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ชายพับกระโปรงไม่ย่นและเป็นวงสวย  นอกจากใช้กับกระโปรงทรงย้วยแล้ว ตีนผีม้วนริมผ้า ยังใช้กับงานเย็บตรงที่ต้องการพับริมให้มีขนาดเล็กอีกด้วย

กระโปรงชายผ้าเช็ดหน้า


เรียกกระโปรงทรงนี้ว่ากระโปรงชายผ้าเช็ดหน้า ตามชื่อภาษาอังกฤษ handkerchief hem skirt เป็นกระโปรงทรงย้วยที่ตัดจากผ้าหน้ากว้างชิ้นเดียว นำมาพับทบ ตัดเว้าส่วนเอวออก ใส่ขอบเอวเข้าไป ก็ได้กระโปรงทรงสวยชายย้วยเป็นมุม เป็นกระโปรงสไตล์โบฮีเมียน ทำให้ผู้สวมใส่ดูเป็นอิสระ สดใส ร่าเริง แพทเทิร์นนี้เป็นแบบขอบเอวจีบรูดด้วยไส้ไก่ จึงไม่ต้องใส่ซิป ถ้ามีผ้าที่มีชายเป็นลูกไม้หรือปักริมชายผ้าทุกด้าน จะทำให้ตัดเย็บง่ายขึ้นไปอีกเพราะไม่ต้องเก็บพับริมชายกระโปรง และผ้าน้ำหนักเบาจะพลิ้วสวยกว่าผ้าหนา

กรรไกรก้ามปู


กรรไกรก้ามปู สำหรับช่างเย็บผ้า มีหน้าที่หลัก คือใช้ตัดด้ายค่ะ แม้ว่ากรรไกรก้ามปูจะไม่มีความจำเป็นต่องานตัดเย็บเท่ากับกรรไกรตัดผ้า แต่นับเป็นเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการช่วยงานเย็บผ้ามาก ไม่ว่าจะเย็บจักรหรือเย็บมือ เพราะทุกครั้งที่เดินจักรหรือเย็บมือเสร็จแต่ละแนว ก็จำเป็นต้องตัดด้ายเพื่อเปลี่ยนแนวเย็บ การใช้กรรไกรตัดผ้าหรือกรรไกรธรรมดาทั่วไปจะทำให้เสียเวลาพอสมควร เพราะต้องจับกรรไกรขึ้นมาและใช้นิ้วสอดเข้าที่ด้ามจับกรรไกรจึงจะตัดได้ แต่ถ้าใช้กรรไกรก้ามปู เราก็เพียงแต่ใช้มือรวบจับตัวกรรไกรและออกแรงเล็กน้อยงับตัดด้ายได้อย่างรวดเร็ว


เย็บรังดุมด้วยมือ


การเย็บรังดุมสำหรับผู้ที่ไม่มีจักรเย็บผ้า หรือมีจักรเย็บผ้าแต่ไม่มีฟังก์ชั่นเย็บซิกแซก สามารถใช้การเย็บด้วยมือได้ค่ะ โดยใช้การปักผ้าพื้นฐานแบบคัทเวิร์ค (cutwork embroidery)

กรรไกรตัดผ้า



กรรไกรตัดผ้าต้องใช้แยกจากกรรไกรตัดกระดาษอย่างเด็ดขาด ช่างตัดเย็บมืออาชีพจะเลือกซื้อกรรไกรที่มีคุณภาพดีที่ผลิตเพื่อการตัดผ้าโดยเฉพาะ และเก็บรักษากรรไกรตัดผ้านี้อย่าดีไม่ใช้ตัดวัสดุอื่นใดแม้แต่กระดาษหรือพลาสติกบางๆ เพราะจะทำให้ศูนย์กรรไกรเสียและไม่คมอีกต่อไป รวมถึงต้องระวังการตกกระแทกพื้นหรือพื้นโต๊ะด้วย

กรรไกรตัดผ้าราคาค่อนข้างสูง บางยี่ห้อราคาหลายร้อยบาทถึงหลักพัน  การเลือกซื้อกรรไกรตัดผ้าจึงมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

จักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้ามีหลายชนิดค่ะ แต่เราจะแนะนำจักรเย็บผ้าพื้นฐานสำหรับใช้งานในบ้านเป็นหลัก เพราะนี่เป็นบล็อก sew it myself ใครที่ยังไม่เคยใช้จักรเย็บผ้าเลยจะได้รู้จักชิ้นส่วนและหลักการทำงานของจักรเย็บผ้าไว้เป็นพื้นฐานก่อนค่ะ

จักรเย็บผ้าแต่ละยี่ห้อ/รุ่น มีรายละเอียดต่างกัน จักรเย็บผ้ารุ่นคุณแม่คุณยายใช้นั้นเป็นจักรถีบ คือใช้เท้าวางบนแผงถีบด้านล่างและถีบให้สายพานจักรไปหมุนให้เข็มจักรเดิน ตัวจักรเย็บผ้ามีรูปทรงโค้งอ่อนช้อยและมีสีดำ จึงเรียกจักรรุ่นเก่านี้ว่าจักรหัวดำ ส่วนจักรสมัยใหม่เป็นแบบมีมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้เท้าเหยียบแป้นที่พื้น ให้มอเตอร์ไฟฟ้าขับให้เข็มจักรเดิน

จักรไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือนมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น แต่โดยทั่วไปมีหลักการทำงานเหมือนกัน และมีชิ้นส่วนหลักในการทำงานใกล้เคียงกัน มารู้จักส่วนประกอบสำคัญของจักรเย็บผ้าตามรูปค่ะ