การติดซิปธรรมดาแบบง่ายๆ


การติดซิปธรรมดานั้นไม่ยากค่ะ แม้ว่ามือใหม่หลายคนจะค่อนข้างกังวล กลัวติดซิปลงไปแล้วไม่สวยแล้วต้องรื้อตะเข็บมาเย็บใหม่  ลองดูวิธีง่ายๆ กันค่ะ

ถ้าแบ่งประเภทของซิปตามการมองเห็นฟันซิป ก็อาจแบ่งเป็นซิปธรรมดาที่มีฟันทำจากโลหะหรือพลาสติก เมื่อติดลงบนผ้าแล้วรูดหัวซิปขึ้น-ลง จะมองเห็นฟันซิปเรียงเป็นแถว ส่วนซิปที่มองไม่เห็นฟัน เรียกว่าซิปซ่อน ใช้กับเสื้อผ้าสตรีเป็นหลัก เพราะมองไม่เห็นฟันซิป เมื่อรูดไปมาด้วยลักษณะของซิปที่ออกแบบมาให้ฟันซิปหลบอยู่หลังแนวผ้าที่ประกบกัน  แต่ในโพสต์นี้ เราจะแสดงการติดซิปธรรมดาอย่างง่ายนะคะ

สำหรับผู้ที่เพิ่งหัดเย็บผ้าเป็นงานอดิเรกเล็กๆ น้อย เช่น กระเป๋า ถุงผ้า ผ้ากันเปื้อน งานบางอย่างจำเป็นต้องติดซิป หากยังไม่ชำนาญมาก ลองดูวิธีการติดซิปต่อไปนี้กันค่ะ เป็นวิธีการแบบง่าย แต่อาจไม่เหมาะกับการนำไปติดเป็นซิปกระโปรง เพราะว่าแนวเย็บทับบนผ้า เป็นแนวตะเข็บที่ 2 ข้างกว้างเท่ากัน ทำให้งานดูไม่เนี๊ยบเหมือนการติดซิปกระโปรงด้วยซิปธรรมดาที่โชว์ตะเข็บกว้างแนวเดียวบนผ้าด้านหนึ่ง ส่วนผ้าอีกด้านหนึ่ง จะเย็บตะเข็บแบบชิดแนวขอบฟับเพื่อซ่อนตะเข็บให้มากที่สุด  ซึ่งเมื่อมีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้ว ก็จะเย็บซิปแบบนั้นได้เอง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือ ผ้าที่ต้องการติดซิป ซิปธรรมดา ขนาดความยาวตามต้องการ (ใช้ซิปไนล่อน เบอร์ 3 ชนิดหัวล็อกอัตโนมัตฺิ ราคาไม่แพงค่ะ) จักรเย็บผ้า ด้ายสปัน ที่เลาะด้าย และเข็มหมุด

ตีนผีแซกริมผ้า


 เพิ่งได้ตีนผีแซคริมผ้ามาค่ะ  ก่อนหน้านี้ที่ผู้เขียนสนุกสนานกับการตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองเป็นเรื่องเป็นราวนั้น เคยลงทุนซื้อจักรโพ้งของจีน มาใช้เวลาซิกแซกริมผ้ากันลุ่ยที่ตะเข็บด้านใน ทำให้ริมผ้าด้ายในส่วนเหลือจากตะเข็บเรียบร้อยสวยงาม เพราะจักรโพ้งนั้นจะมีใบมีดตัดริมส่วนที่เกินจากตะเข็บซิกแซกออกให้ด้วย แม้การใส่ด้ายของจักรโพ้งจะยุ่งยากเอาการสำหรับมือสมัครเล่น เพราะต้องใช้ด้ายถึง 3 หลอด ที่แตกต่างกัน คือไหมแซก ด้ายแซกและด้ายฟู ตามมาตรฐานตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วไป ทุกคัร้งที่มาใส่ด้ายด็ต้องเปิดคู่มือการร้อยด้ายทุกครั้ง

จนวันหนึ่งหยุดตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองชั่วคราวเพราะมีภาระกิจอื่นสำคัญกว่าให้ต้องไปทำ ปล่อยทั้งจักรเย็บผ้าและจักรโพ้งให้ยืนเหงามาหลายปี มาดูอีกทีจักรโพ้งก็ไปเสียแล้ว ทั้งฝุ่นทั้งสนิมจับเขรอะ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งซ่อมแล้วก็ไม่โอเคเหมือนเดิม ต้องตัดใจเลิกใช้ หันมาแซกริมผ้าด้วยจักรเย็บผ้าที่มีฟังก์ชั่นเย็บซิกแซกแทน  ใช้ตีนผีซิกแซกที่มากับจักรนั่นล่ะค่ะ แต่เย็บแล้วไม่สวยเอาเสียเลย ได้แนวเย็บเบี้ยวๆ บูดๆ แถมบางแนวม้วนริมผ้าเสียย่นเลย  ทนใช้ไปเพราะคิดว่าช่างเถอะ มันอยู่ด้านใน ไม่มีใครเห็น

สาระพันปัญหาขณะเย็บจักร


เมื่อใช้จักรเย็บผ้าไปนานๆ จะพบปัญหาสารพันที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ก็เย็บได้ตามปกติแท้ๆ เมื่อมีปัญหาเกียวกับการเย็บผ้า ลองวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขเบื้องต้นกันก่อนดีไหมคะ หากลองแก้ไขด้วยตัวเองแล้วยังเป็นเหมือนเดิม ก็คงต้องให้มืออาชีพช่วยแก้ไขให้ค่ะ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ เมื่อใช้งานจักรเย็บผ้า มีดังนี้

เข็มหักหรือบิดงอ
 สาเหตุหลักๆ เลยนั้น น่าจะเป็นการใช้เข็มผิดขนาด ไม่เหมาะกับชนิดของผ้าที่ใช้เย็บ เช่น ใช้เข็มเบอร์ 11 ซึ่งมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้เย็บผ้าบางๆ เช่น ผ้าชีฟอง มาเย็บผ้ายีนส์ หรือผ้าใบ  ถ้าขนาดเข็มที่ใช้เหมาะกับชนิดของผ้าดีแล้ว ให้ลองเช็คว่าใส่เข็มถูกตำแหน่งหรือไม่ โดยดูจากตำแหน่งหัวเข็มจะต้องใส่ให้ลงล็อกกับแกนใส่เข็มของจักรเย็บผ้าให้พอดี  ขณะเย็บต้องไม่ดึงผ้าให้ตึงจนเกินไป  สาเหตุจากตีนผี ก็มีความเป็นไปได้ว่า