sew it myself by Petracraft
แนะนำอุปกรณ์และเทคนิคตัดเย็บง่ายๆ ด้วยฝีมือตัวเอง งานอดิเรกสำหรับมือสมัครเล่น
เข้าปกเสื้อเชิ้ต
การเข้าปกเสื้อเชิ้ตค่อนข้างซับซ้อนสำหรับมือสมัครเล่น เพราะถ้าน๊านนานจะเย็บเสื้อเชิ้ตสักตัว เวลาต้องเข้าปกเสื้อทีไรต้องดูคู่มือทุกครั้ง วันนี้ก็เลยจะบันทึกวิธีการเข้าปกเชิ้ตตามแบบของตัวเองบ้าง
เมื่อต้องการทำปกเชิ้ต ต้องตัดผ้าส่วนที่เป็นปกเชิ้ต 2 ชิ้น + ปกคอตั้ง 2 ชิ้น ส่วนผ้าที่ใช้รองด้านในของปกเชิ้ต เราใช้ผ้าแก้วกาวค่ะะ เพราะรีดทับบนปกเชิ้ตด้านในแล้วกาวจะยึดกับผ้าไม่ต้องเย็บติดอีก ส่วนผ้ารองปกคอตั้ง เราใช้ผ้าเคมีขอบเอว เพื่อให้ปกแข็งตั้งทรงได้
ตีนผีเย็บย่น
ตีนผีเย็บย่น ช่วยให้การเย็บจีบรูด เพื่อทำระบาย หรือตัดเย็บกระโปรงจีบรูดทำได้ง่ายดาย ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งเย็บฝีเข็มตรงแบบห่างๆ แล้วค่อยๆ ดึงรูดจีบ อีก
ตีนผีเย็บย่นอันเล็กๆ หน้าตาแบบนี้ค่ะ มีทั้งชนิดที่มีก้านยึดกับแกนจับตีนผีของจักรเย็บผ้าในตัว และแบบงับติด (snap on) ที่ต้องมีก้าน snap ต่างหาก
การเลือกใช้ซิป
ซิปมีหลายแบบหลายชนิด บางชนิดออกแบบเป็นพิเศษ เช่น ซิปที่ใช้กับชุดนักบินอวกาศ แต่สำหรับการใช้ในงานทั่วๆ ไป อย่างที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ งานฝีมือ ก็มีหลายชนิด เช่นกัน ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน จะได้ใช้ได้นานๆ ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย และจะเลือกใช้ซิปอย่างไร แบบไหน ให้พิจารณาดังนี้ค่ะ
- ขนาดของฟันซิป ในท้องตลาดทั่วไป ขนาดของฟันซิปที่หาได้ง่ายคือ เบอร์ 3 เบอร์ 5 ค่ะ เบอร์ 3 ก็ประมาณซิปไนล่อนที่ใช้ติดกระโปรง กางเกง เสื้อผ้า ส่วนเบอร์ 5 ฟันซิปจะมีขนาดใหญ่กว่า เบอร์ 3 ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรง เช่น เต้นท์ ผ้าหุ้มเบาะ เป็นต้น
- วัสดุที่ใช้ทำฟันซิป มีทั้งที่เป็นไนล่อน พลาสติก เหล็ก และทองเหลือง เสื้อผ้าทั่วไปนิยมใช้ซิปฟันไนล่อน กางเกงยีนส์หรือกางเกงที่ต้องใช้งานสมบุกสมบันจะติดซิปฟันทองเหลืองหรือฟันเหล็ก ส่วนฟันพลาสติก อย่างที่เรียกว่าซิปฟันกระดูก นิยมใช้ในงานกระเป๋า เพราะฟันซิปสวยงาม โชว์ได้ และมีฟันซิปอีกแบบที่เคยเป็นที่นิยม เรียกว่าฟันนิกเกิล ใช้ตกแต่งเสื้อผ้า ทำงานฝีมือ ขนาดฟันซิปค่อนข้างใหญ่ เพราะใช้โชว์ฟัน มีสีโลหะแววาว เช่น สีเงิน สีทอง หรือสีรุ้ง
การสร้างเกล็ดกระโปรงมาตรฐาน
การวาดเกล็ดกระโปรงลงบนกระดาษสร้างแบบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแบบกระโปรงมาตรฐานแล้วค่ะ การทำเกล็ดกระโปรง เพื่อทำให้กระโปรงมีส่วนโค้งจากเอวที่คอด ลงไปหาส่วนสะโพกที่ผายออก ตำแหน่งเกล็ดกระโปรงจึงเป็นตำแหน่งเย็บเก็บผ้าส่วนที่ใกล้ขอบเอวเข้าหากัน แม้แต่กระโปรงพลีทรอบตัว ก็ควรสร้างเกล็ดกระโปรงไว้บนแบบ เช่นกัน
จากตอนที่แล้ว ที่เราได้ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้าให้มากกว่าชิ้นหลัง ข้างละ 2 ซม. เมื่อจะทำเกล็ดกระโปรง เริ่มที่แบบชิ้นหลังก่อนก็ได้ค่ะ
การวาดเกล็ดกระโปรงชิ้นหลัง
แบ่งระยะของขอบเอวชิ้นหลัง จากสันทบถึงโค้งเอวชิ้นหลัง เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ลากเส้นตรงลงมาจากตำแหน่งที่แบ่ง ถึงเส้นสะโพกบน ให้เส้นนี้นี้คือเส้นกึ่งกลางของเกล็ดแต่ละอัน ซึ่งเกล็ดแต่ละอันจะกว้างเท่าไรขึ้นกับความยาวของเอวของผู้สวมใส่ คำนวณจาก
ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน = ระยะ PQ - [(รอบเอวจริง / 4) - 2]
ได้ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน มาแล้ว กำหนดให้เกล็ดแรกทางซ้ายมือ กว้าง 3 ซม. เหลือเท่าไหร่ ให้เป็นความกว้างของเกล็ดที่ 2
และให้ความยาวเกล็ดแรกประมาณ 14-16 ซม. ส่วนเกล็ดที่ 2 ยาวประมาณ 12 ซม.
จากตอนที่แล้ว ที่เราได้ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้าให้มากกว่าชิ้นหลัง ข้างละ 2 ซม. เมื่อจะทำเกล็ดกระโปรง เริ่มที่แบบชิ้นหลังก่อนก็ได้ค่ะ
การวาดเกล็ดกระโปรงชิ้นหลัง
แบ่งระยะของขอบเอวชิ้นหลัง จากสันทบถึงโค้งเอวชิ้นหลัง เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ลากเส้นตรงลงมาจากตำแหน่งที่แบ่ง ถึงเส้นสะโพกบน ให้เส้นนี้นี้คือเส้นกึ่งกลางของเกล็ดแต่ละอัน ซึ่งเกล็ดแต่ละอันจะกว้างเท่าไรขึ้นกับความยาวของเอวของผู้สวมใส่ คำนวณจาก
ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน = ระยะ PQ - [(รอบเอวจริง / 4) - 2]
ได้ความกว้างของเกล็ดชิ้นหลัง 2 อัน มาแล้ว กำหนดให้เกล็ดแรกทางซ้ายมือ กว้าง 3 ซม. เหลือเท่าไหร่ ให้เป็นความกว้างของเกล็ดที่ 2
และให้ความยาวเกล็ดแรกประมาณ 14-16 ซม. ส่วนเกล็ดที่ 2 ยาวประมาณ 12 ซม.
ปรับแบบกระโปรงพื้นฐาน: ความกว้างชิ้นหน้าและชิ้นหลัง
สร้างพื้นฐานกระโปรงกันแล้วก็ปรับความกว้างของกระโปรงชิ้นหน้า-ชิ้นหลัง กันต่อค่ะ
กระโปรงพื้นฐานควรปรับให้ด้านหน้ามีความกว้างมากกว่าด้านหลัง เพื่อให้เมื่อมองกระโปรงที่อยู่บนตัวผู้สวมใส่แล้ว จะได้ไม่เห็นมองไม่เห็นตะเข็บข้างตัวกระโปรงชัดเกินไป การปรับทำได้โดยนำแบบกระโปรงพื้นฐานที่สร้างไว้ในตอนที่แล้ว มาลดความกว้างของกระโปรงชิ้นหลังลงไป 2 ซม. จะทำให้กระโปรงชิ้นหน้ากว้างขึ้นข้างละ 2 ซม. และชิ้นหลังแคบลงข้างละ 2 ซม.ตามเส้นสีแดงในภาพ
แล้วก็ลบเส้นความกว้างตามแนวเดิมออก จะได้แบบกระโปรงพื้นฐานที่ด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังข้างละ 2 ซม. ค่ะ
กระโปรงพื้นฐานควรปรับให้ด้านหน้ามีความกว้างมากกว่าด้านหลัง เพื่อให้เมื่อมองกระโปรงที่อยู่บนตัวผู้สวมใส่แล้ว จะได้ไม่เห็นมองไม่เห็นตะเข็บข้างตัวกระโปรงชัดเกินไป การปรับทำได้โดยนำแบบกระโปรงพื้นฐานที่สร้างไว้ในตอนที่แล้ว มาลดความกว้างของกระโปรงชิ้นหลังลงไป 2 ซม. จะทำให้กระโปรงชิ้นหน้ากว้างขึ้นข้างละ 2 ซม. และชิ้นหลังแคบลงข้างละ 2 ซม.ตามเส้นสีแดงในภาพ
แล้วก็ลบเส้นความกว้างตามแนวเดิมออก จะได้แบบกระโปรงพื้นฐานที่ด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังข้างละ 2 ซม. ค่ะ
การสร้างแบบกระโปรงมาตรฐาน (1)
เมื่อวัดตัวนางแบบ สำหรับการตัดประโปรงไว้แล้ว ก็เริ่มลงมือทำแบบพื้นฐานของกระโปรง ลงบนกระดาษสร้างแบบกันได้เลยค่ะ แบบพื้นฐานของกระโปรงนี้จะเป็นเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอน ที่ความยาวของแต่ละเส้นได้มาจากการวัดรอบตัวนางแบบ
เริ่มจากเส้นตรงแนวนอนด้านล่างสุด เพื่อกำหนดความกว้างของแบบ
ความกว้างของแบบ (เส้น AB) = รอบสะโพกล่าง / 2
ความยาวของเส้นตั้งซ้าย (AC) = ความยาวกระโปรงด้านหลัง
ความยาวของเส้นตั้งขวา (AD) = ความยาวกระโปรงด้านหน้า
การวัดตัวเพื่อสร้างกระโปรง
การตัดเย็บกระโปรง เป็นขั้นแรกของการฝึกงานตัดเย็บเสื้อผ้า เพราะการวัดตัว และสร้างแบบไม่ซับซ้อนเกินไป ส่วนการตัดผ้าก็สามารถคำนวณพื้นที่ของผ้าที่จะใช้ได้ง่าย การเย็บด้วยจักรก็ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมาก จะมีขั้นตอนที่ต้องระมัดระวังหน่อย คือ การเย็บเข้ากับกระโปรงซับใน ติดซิป และเข้าขอบเอว เท่านั้น
เริ่มต้น ด้วยการวัดตัว เพื่อนำขนาดตัวของผู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้าไปสร้างเป็นแบบ (pattern) โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือสายวัด เป็นแถบพลาสติกสีขาวมีสเกลบอกความยาวเป็นนิ้วและเซนติเมตร และสมุดวัดตัว เพราะมีช่องหรือบรรทัดให้ใส่สัดส่วนร่างกายของแบบ อยู่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป
เริ่มต้น ด้วยการวัดตัว เพื่อนำขนาดตัวของผู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้าไปสร้างเป็นแบบ (pattern) โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือสายวัด เป็นแถบพลาสติกสีขาวมีสเกลบอกความยาวเป็นนิ้วและเซนติเมตร และสมุดวัดตัว เพราะมีช่องหรือบรรทัดให้ใส่สัดส่วนร่างกายของแบบ อยู่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)