แนะนำอุปกรณ์และเทคนิคตัดเย็บง่ายๆ ด้วยฝีมือตัวเอง งานอดิเรกสำหรับมือสมัครเล่น
การสร้างแบบกระโปรงมาตรฐาน (1)
เมื่อวัดตัวนางแบบ สำหรับการตัดประโปรงไว้แล้ว ก็เริ่มลงมือทำแบบพื้นฐานของกระโปรง ลงบนกระดาษสร้างแบบกันได้เลยค่ะ แบบพื้นฐานของกระโปรงนี้จะเป็นเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอน ที่ความยาวของแต่ละเส้นได้มาจากการวัดรอบตัวนางแบบ
เริ่มจากเส้นตรงแนวนอนด้านล่างสุด เพื่อกำหนดความกว้างของแบบ
ความกว้างของแบบ (เส้น AB) = รอบสะโพกล่าง / 2
ความยาวของเส้นตั้งซ้าย (AC) = ความยาวกระโปรงด้านหลัง
ความยาวของเส้นตั้งขวา (AD) = ความยาวกระโปรงด้านหน้า
การวัดตัวเพื่อสร้างกระโปรง
การตัดเย็บกระโปรง เป็นขั้นแรกของการฝึกงานตัดเย็บเสื้อผ้า เพราะการวัดตัว และสร้างแบบไม่ซับซ้อนเกินไป ส่วนการตัดผ้าก็สามารถคำนวณพื้นที่ของผ้าที่จะใช้ได้ง่าย การเย็บด้วยจักรก็ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมาก จะมีขั้นตอนที่ต้องระมัดระวังหน่อย คือ การเย็บเข้ากับกระโปรงซับใน ติดซิป และเข้าขอบเอว เท่านั้น
เริ่มต้น ด้วยการวัดตัว เพื่อนำขนาดตัวของผู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้าไปสร้างเป็นแบบ (pattern) โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือสายวัด เป็นแถบพลาสติกสีขาวมีสเกลบอกความยาวเป็นนิ้วและเซนติเมตร และสมุดวัดตัว เพราะมีช่องหรือบรรทัดให้ใส่สัดส่วนร่างกายของแบบ อยู่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป
เริ่มต้น ด้วยการวัดตัว เพื่อนำขนาดตัวของผู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้าไปสร้างเป็นแบบ (pattern) โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือสายวัด เป็นแถบพลาสติกสีขาวมีสเกลบอกความยาวเป็นนิ้วและเซนติเมตร และสมุดวัดตัว เพราะมีช่องหรือบรรทัดให้ใส่สัดส่วนร่างกายของแบบ อยู่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)